หน้าหลัก > วิธีนับคาร์โบไฮเดรต
วิธีนับคาร์โบไฮเดรต

1. เรียนรู้อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต  อย่างแรกเลยเราจะต้องแยกให้ออกก่อนว่าเมนูอาหารใดบ้าง ที่มีส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรต เพื่อที่จะได้เลือกทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตได้อย่างเหมาะสม

2. เรียนรู้การประเมินสัดส่วนอาหาร เพื่อสามารถคำนวณได้ว่า อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตชนิดนั้นมีพลังงานสูงมากน้อยเพียงใด เพื่อจะได้ทานในปริมาณที่เหมาะสม

3. เรียนรู้การอ่านฉลากโภชนาการการอ่านฉลากช่วยให้ได้รับรู้ปริมาณของส่วนประกอบต่างๆ ของอาหารชนิดนั้นๆ

ซึ่งมีหลักการดังต่อไป

  • ดูขนาดหนึ่งหน่วยบริโภค ( ปริมาณการกินต่อ 1 ครั้ง ของอาหารนั้น )
  • ดูปริมาณคาร์โบไฮเดรตต่อ 1 หน่วยบริโภค ปริมาณน้ำตาลที่เติมในการผลิตหรือที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติจะรวมอยู่ในปริมาณคาร์โบไฮเดรต
  • เปรียบเทียบปริมาณ 1 ที่เสิร์ฟในฉลากอาหารกับปริมาณอาหาร 1 ส่วนหรือ 1 คาร์บ คาร์โบไฮเดรตทุกๆ 15 กรัม ต่อ 1 ส่วนนับเป็น 1 คาร์บ ( เพื่อให้ง่ายต่อการนับจำนวนคาร์บ จะคิด 1 คาร์บ = 15 กรัม )
  • เปรียบเทียบปริมาณคาร์โบไฮเดรตของอาหารที่เลือกกับปริมาณอาหาร 1 ส่วนมาตรฐาน
  • นับคาร์โบไฮเดรตเป็นกรัม หรือเป็น “ จำนวนคาร์บ ”

อาหารอะไรบ้างที่มีคาร์โบไฮเดรต

อาหารที่มีส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรต ส่วนมากที่เราจะสามารถพบได้ เช่น

  • ข้าว หรือ อาหารประเภทแป้งหรือเส้นต่างๆ และรวมถึงถั่วเมล็ดแห้งต่างๆด้วย
  • ผักที่มีแป้งมาก เช่น มันฝรั่ง ข้าวโพด เป็นต้น
  • ผักประเภททานใบหรือทานดอก
  • ผลไม้ เช่น กล้วย   
  • นม หรือ ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของนม
  • ขนมหวานต่างๆ

ข้อควรระวังในการทานอาหารเกี่ยวกับคาร์โบไฮเดรต

แม้ว่าคาร์โบไฮเดรต จะเป็นสารอาหารที่ให้พลังงานและมีจำเป็นต่อร่างกาย แต่ก็มีข้อที่ควรระวังก็คือ ไม่ควรลดหรืองด ปริมาณคาร์โบไฮเดรตในมื้อใดมื้อหนึ่ง แล้วไปทานเพิ่มในมื้อถัดไป  เนื่องจากการทานคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป จะไปทำให้เกิดพลังงานส่วนเกินที่ร่างกายจะใช้ไม่หมด ไปสะสมเป็นไขมัน  และส่งผลให้การลดน้ำหนักไม่ได้ผล และยังมีผลกับระดับน้ำตาลในเลือดที่อาจจะมีปริมาณสูงตามไปด้วย

นอกจากคาร์โบไฮเดรตที่เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกายแล้ว อาหารกลุ่มประเภทอย่างโปรตีนบางอย่างหรือไขมัน ก็ให้พลังงานได้สูงไม่แพ้กับคาร์โบไฮเดรตเลยจึงควรต้องจำกัดปริมาณในการกิน

โดยจำกัดอาหารประเภทเนื้อสัตว์ให้อยู่ที่ไม่เกิน วันละ 180 – 240 กรัม และจำกัดไขมันในการปรุงอาหารวันละ 3 – 6 ช้อนชา จะดีที่สุด

นอกจากนี้ยังมีข้อควรระวังเพิ่มเติม เช่น

1.การเติมน้ำตาลในอาหารโดยไม่จำเป็น

2.เลี่ยงผลิตภัณฑ์นมไขมันเต็ม โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่มีไขมันอิ่มตัวสูง

3.เลี่ยงไขมันทรานส์ ( ไขมันซ่อนรูป ) เช่น โดนัท คุกกี้ เค้ก พาย เฟรนซ์ฟรายส์ เป็นต้น

4.อาหารแปรรูปที่มีไขมันมาก เช่น อาหารทอด อบกรอบ ขนมหวานเป็นต้น

5.ลดอาหารที่มีรสเค็มจัด ซึ่งจะทำให้ร่างกายบวมน้ำได้

 

 

#primasukafiberplus #พรีมาซูกะไฟเบอร์พลัส #สารให้ความหวานแทนน้ำตาลพรีมา #หญ้าหวานพรีมา #หญ้าหวานออร์แกนิคพรีมา #หญ้าหวาน #Stevia #พรีมา #prima #primagroup #primacare #primacaregroup #primagroupofficial #สารให้ความหวานแทนน้ำตาล #steviasweetener #หญ้าหวานออร์แกนิค #เบาหวาน #หวานธรรมชาติ #ควบคุมน้ำหนัก #ควบคุมน้ำตาล #ลดความอ้วน #ผู้ป่วยเบาหวาน #สารให้ความหวานผู้ป่วยเบาหวาน

ร้านค้าออนไลน์
© 2006-2024
Vevo Systems Co., Ltd.