หน้าหลัก > กินน้ำตาลอย่างไรให้เหมาะสม
กินน้ำตาลอย่างไรให้เหมาะสม

1.กินน้ำตาลอย่างพอดี

การกินน้ำตาลไม่ใช่สิ่งที่ผิดแต่อย่างใด แต่ทุกคนควรจะกินน้ำตาลอย่างพอดี เนื่องจากทุกวันนี้ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องดื่ม ขนม หรือของกินต่างๆ ล้วนแต่มีส่วนผสมของน้ำตาลแทบทั้งสิ้น ดังนั้น ควรเลือกกินอาหารที่มีรสชาติปานกลาง ไม่หวานมากเกินไป อีกทั้งควรคำนวณว่าในแต่ละวันเราสามารถกินน้ำตาลได้วันละไม่ควรเกิน 4 ช้อนชาเท่านั้น จึงจะถือว่าปลอดภัยต่อร่างกายมากที่สุด

2.เลือกกินน้ำตาลทรายแดงแทนน้ำตาลทรายขาว

โดยปกติแล้ว ผู้คนมักจะนิยมกินน้ำตาลทรายขาวเป็นส่วนมาก แต่น้ำตาลขาวนั้นจะผ่านการฟอกด้วยสารเคมีหลายแบบจนอาจจะทำให้สารอาหารต่างๆ หายไป ขณะที่น้ำตาลทรายแดงจะไม่ได้รับการขัดสีออกไปจนหมด ซึ่งสีแดงๆ ของผลึกเม็ดน้ำตาลนั้นบ่งบอกถึงคุณค่าทางสารอาหารที่ยังคงมีอยู่ โดยจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายไปพร้อมๆ กัน

3.หลีกเลี่ยงน้ำตาลฟรุกโตสไซรัป

น้ำตาลชนิดนี้ถือเป็นส่วนประกอบของเครื่องดื่ม ขนมขบเคี้ยว และอาหารแทบทุกชนิด ซึ่งร่างกายไม่สามารถเผาผลาญน้ำตาลชนิดนี้ออกหมดได้ จึงทำให้เกิดน้ำตาลและไขมันสะสมตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ปัจจุบันหลายประเทศเริ่มให้ความสำคัญและรณรงค์เพื่อเลิกใช้น้ำตาลชนิดนี้ผสมลงในอาหารเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

4.งดดื่มเครื่องดื่มรสชาติหวาน

สำหรับใครที่ติดดื่มกาแฟ ชาเย็น น้ำอัดลม หรือเครื่องดื่มต่างๆ ที่มีรสหวาน ควรงดหรือหลีกเลี่ยงให้น้อยลง เนื่องจากเครื่องดื่มจำพวกนี้มีส่วนผสมของน้ำตาลจำนวนมาก ซึ่งหากบริโภคเข้าไปเป็นระยะเวลานานย่อมส่งผลเสียต่อร่างกายแน่นอน

5.เลือกกินผลไม้ที่มีรสชาติไม่หวานมาก

ผลไม้ถือเป็นอีกหนึ่งอาหารที่มีส่วนประกอบของน้ำตาลจำนวนมาก สำหรับใครที่ชื่นชอบกินผลไม้ ควรเลือกผลไม้หวานน้อยจำพวกแอปเปิล ฝรั่ง กล้วย แก้วมังกร หรือผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายได้รับวิตามิน แร่ธาตุอย่างครบถ้วน อีกทั้งยังมีใยอาหารซึ่งถือว่ามีประโยชน์และปลอดภัยต่อสุขภาพมากขึ้น

6.ทานแป้งอย่างพอดี

แป้ง ไม่เพียงแต่ประกอบไปด้วยคาร์โบไฮเดรตอย่างเดียวเท่านั้น เพราะเมื่อถูกย่อยแล้ว แป้งจะแปรเปลี่ยนไปเป็นน้ำตาล ซึ่งร่างกายจะนำไปใช้เป็นพลังงานในการทำกิจกรรมต่างๆ แต่หากรับประทานแป้งมากจนเกินไป ในขณะที่ทำกิจกรรมในแต่ละวันน้อย ร่างกายก็ไม่อาจดึงเอาน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานได้หมด น้ำตาลที่เหลือก็ย่อมกลายเป็นไขมันไปสะสมตามส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ในที่สุด แนะนำให้ทานแป้งอย่างพอดีหรือทานคาร์โบเดรตเชิงซ้อนจากข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต โฮลเกรน หรือขนมปังโฮลวีทแทนจะดีกว่า

จะเห็นว่าน้ำตาลเป็นอาหารที่ส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างมาก แต่ก็ใช่ว่าเราจะไม่สามารถกินน้ำตาลได้เลย กินได้… เพียงแต่จะต้องเลือกกินอย่างพอดี เพื่อไม่ให้เกิดโรคร้ายต่างๆ ตามมา

ซึ่งการรักษานั้นอาจจะใช้ระยะเวลานานหรือทำให้เสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้สูงกว่า อย่างไรแล้วก็ไม่ถือว่าคุ้มอยู่ดี ดังนั้น ทางที่ดีที่สุดคือ การควบคุมอาหารที่มีรสหวานเพื่อป้องกันอันตรายจากการกินน้ำตาลที่จะตามมาภายหลังย่อมเป็นวิธีการบริโภคที่ฉลาดที่สุด

  • ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง บางครั้งไม่ได้แสดงอาการให้เห็นเสมอไป การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยบอกถึงภาวะน้ำตาลในเลือดสูงได้
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง และไม่ได้รับการรักษา อาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ส่งผลให้เส้นประสาท หลอดเลือด หรืออวัยวะต่างๆ ถูกทำลายจนมีปัญหาสุขภาพร้ายแรงตามมาได้

ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ได้แก่ ภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินกว่าเกณฑ์ค่าปกติ คือ มากกว่า 99 มก./ดล. หลังอดอาหาร 8 ชม. และ เกิน 140 มก./ดล. หลังมื้ออาหาร 2 ชม. ภาวะเช่นนี้จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวาน ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง และไม่ได้รับการรักษา อาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ส่งผลให้เส้นประสาท หลอดเลือด หรืออวัยวะต่างๆ ถูกทำลายจนมีปัญหาสุขภาพร้ายแรงตามมาได้

สาเหตุของภาวะน้ำตาลในเลือดสูง มักเกิดจาก โรคเบาหวานเป็นหลักเพราะผู้ป่วยโรคเบาหวานนั้น มีระดับน้ำตาลสูงขึ้นได้ง่าย เนื่องจากร่างกายมีฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอหรือเกิดภาวะดื้ออินซูลิน ทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลผิดปกติ

ส่วนผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวานก็เกิดภาวะนี้ได้เช่นกัน โดยอาจมีสาเหตุมาจากโรคหรือพฤติกรรมการใช้ชีวิตบางอย่าง เช่น

  • การรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรตเป็นส่วนประกอบมากเกินไป
  • โรคเครียด หรือมีภาวะเครียดตลอดเวลา
  • ไม่ชอบ หรือไม่เคยออกกำลังกาย
  • การติดเชื้อมีไข้
  • เป็นโรคเกี่ยวกับตับอ่อน ทำให้ร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้
  • การรับประทานยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ ยากดภูมิต้านทาน

สัญญาณอันตรายของภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ได้แก่ ปัสสาวะบ่อย หิวน้ำบ่อย น้ำหนักลด ผิวแห้ง รู้สึกหิวแม้จะเพิ่งกิน อ่อนเพลีย สายตาพร่ามัว มองเห็นไม่ชัด ซึ่งภาวะน้ำตาลในเลือดสูงนี้ บางทีไม่ได้แสดงอาการให้เห็นเสมอไป การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยบอกถึงภาวะน้ำตาลในเลือดสูงได้

การแก้ไขภาวะน้ำตาลในเลือดสูง แตกต่างกันตามแต่ละบุคคล โดยพิจารณาจากสาเหตุที่ทำให้เกิดความรุนแรงและความเสี่ยงด้านสุขภาพของผู้ป่วยเป็นหลัก

  • ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารและดื่มน้ำให้มากขึ้น แพทย์หรือนักโภชนาการจะช่วยดูแลและให้คำแนะนำด้านการกินอาหารที่ถูกต้อง เช่น ลดอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต หรือดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน เพราะน้ำจะช่วยขจัดน้ำตาลออกจากร่างกายผ่านทางปัสสาวะและป้องกันภาวะขาดน้ำ
  • ออกกำลังกายเป็นประจำจะช่วยเพิ่มการใช้พลังงาน ทำให้น้ำตาลถูกนำออกมาใช้ แต่ผู้ที่มีโรคประจำตัวบางชนิด ควรระมัดระวังในการเลือกประเภทของการออกกำลังกาย โดยอาจขอคำแนะนำจากแพทย์ก่อน
  • เปลี่ยนชนิดของยา เนื่องจากยาบางชนิดมีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อลดผลข้างเคียงและความเสี่ยงด้านสุขภาพ
  • ควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยควบคุมอาการไม่ให้แย่ลง การจดบันทึกและตรวจระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้แพทย์ติดตามการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดสูง

ระดับน้ำตาลในเลือดสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา การป้องกันที่ดีจึงอยู่ที่ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้ชีวิตในเรื่องการรับประทานอาหาร ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน และตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานควรรับประทานยาและไปพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ และหากพบความผิดปกติของระดับน้ำตาลในเลือด ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำในการควบคุมหรือการรักษาเพิ่มเติม

 

 

#primasukafiberplus #พรีมาซูกะไฟเบอร์พลัส #สารให้ความหวานแทนน้ำตาลพรีมา #หญ้าหวานพรีมา #หญ้าหวานออร์แกนิคพรีมา #หญ้าหวาน #Stevia #พรีมา #prima #primagroup #primacare #primacaregroup #primagroupofficial #สารให้ความหวานแทนน้ำตาล #steviasweetener #หญ้าหวานออร์แกนิค #เบาหวาน #หวานธรรมชาติ #ควบคุมน้ำหนัก #ควบคุมน้ำตาล #ลดความอ้วน #ผู้ป่วยเบาหวาน #สารให้ความหวานผู้ป่วยเบาหวาน

ร้านค้าออนไลน์
© 2006-2024
Vevo Systems Co., Ltd.