หน้าหลัก > ข่าวและประกาศ > โหลดคาร์บ คืออะไร? ทำไมต้องโหลดก่อน "ออกกำลังกาย"
โหลดคาร์บ คืออะไร? ทำไมต้องโหลดก่อน "ออกกำลังกาย"
โหลดคาร์บ คืออะไร? ทำไมต้องโหลดก่อน "ออกกำลังกาย"
25 Apr, 2024 / By primacaregroup
Images/Blog/u5uPNHg5-S__4947973.jpg

 "โหลดคาร์บ" คืออะไร?   

"โหลดคาร์บ" หรือ "Carb Loading" คือ เทคนิคทางโภชนาการที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการ "ออกกำลังกาย" ด้วยการเพิ่มสัดส่วนในการรับประทานอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรต ซึ่งถือเป็นวิธีหนึ่งที่นักวิ่ง นักปั่น และนักไตรกีฬา เลือกใช้ควบคู่ไปกับการฝึกซ้อมออกกำลังกาย เพื่อให้ร่างกายมีพลังงานสำรองเพียงพอ และพร้อมใช้ในวันที่ต้องลงแข่งขันสนามจริง

"คาร์โบไฮเดรต" สำคัญต่อการแข่งขัน

ทั้งนี้ หลายคนอาจสงสัยว่าการ "ออกกำลังกาย" หรือ "ลดน้ำหนัก" เราไม่ควรบริโภคคาร์โบไฮเดรตไม่ใช่หรือ แล้วทำไมเราจะต้อง "โหลดคาร์บ" ก่อนไปแข่งขันวิ่ง หรือปั่นจักรยานด้วย ใช่ค่ะ...นั่นสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก ที่ควรลดคาร์โบไฮเดรต แต่สำหรับการฝึกซ้อมและการแข่งขันกีฬาประเภทต่างๆ นั้น "คาร์โบไฮเดรต" หมายถึงสารอาหารสำคัญที่ให้พลังงานหลักแก่ร่างกาย ทำให้ร่างกายของคนเราสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเวลาที่แข่งขันกีฬา อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปแล้วพลังงานที่ได้รับจากคาร์โบไฮเดรต ส่วนใหญ่จะหมดไปเป็นวันต่อวัน จากการทำกิจกรรมต่างๆ เช่น ทำงาน ออกกำลังกาย และเดิน แต่หากสาวๆ รับประทานคาร์โบไฮเดรตมากเกินความต้องการของร่างกายนั่นแหละ ก็จะทำให้พลังงานถูกเปลี่ยนไปเป็นไขมันสะสมตามชั้นใต้ผิวหนัง จนทำให้เกิดโรคอ้วนนั่นเอง

ต้องแยก "ไกลโคเจน" และ "ไขมัน"

ก่อนที่เราจะสะสมพลังงานจากคาร์โบไฮเดรต หรือ "โหลดคาร์บ" มานั้น อันดับแรกต้องทำความเข้าใจกระบวนการทำงานของการสะสมพลังงานจากคาร์โบไฮเดรตก่อนว่า ในการปั่นจักรยาน หรือการวิ่ง รวมถึงการออกกำลังกายหลายๆ ประเภท แหล่งพลังงานหลักที่เราจะนำไปใช้ก็คือ "ไกลโคเจน" และ "ไขมัน" ในร่างกายของเรา หากเราปั่นจักรกยานช้าๆ ไม่เร็วมากนัก อัตราการเต้นของหัวใจไม่เกิน 75% ร่างกายจะใช้ไขมันเป็นแหล่งพลังงานหลักในการออกกำลังกาย แต่ถ้าหากเราปั่นเร็วขึ้นและนานขึ้น ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเกิน 75% ขึ้นไปแล้ว ร่างกายจะใช้พลังงานจากไกลโคเจนเป็นหลัก ดังนั้นหากเราต้องการปั่นจักรยานได้หนักๆ นานๆ เราจึงจำเป็นต้องมีไกลโคเจนสะสมอยู่ในร่างกายให้มากเข้าไว้

"ไกลโคเจน" มาจากไหน?

เมื่อสาวๆ รับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตเข้าไป ร่างกายจะย่อยคาร์โบไฮเดรตให้กลายเป็นกลูโคส และเก็บสะสมกลูโคสในรูปของ "ไกลโคเจน" ทั้งในตับและกล้ามเนื้อ เพื่อเตรียมนำไปใช้ในการสร้างพลังงานในการออกกำลังกาย แต่ไกลโคเจนที่สะสมในกล้ามเนื้อและในตับมีปริมาณจำกัด โดยตับและกล้ามเนื้อสามารถเก็บสะสมไกลโคเจนสำหรับการสร้างพลังงานได้ราว 60-90 นาทีเท่านั้น ดังนั้นเมื่อไกลโคเจนไปสะสมที่ตับและกล้ามเนื้อมากเพียงพอแล้ว กลูโคสส่วนที่เหลือจะถูกเก็บสะสมในรูปแบบของไขมันแทน ดังนั้น การกินคาร์โบไฮเดรตที่พอเพียงและพอเหมาะ จึงสำคัญที่สุด เพราะหากบริโภคน้อยเกินไป ก็มีพลังงานไปใช้ไม่เพียงพอ แต่หากบริโภคมากเกินไป ก็กลายเป็นไขมันสะสม และส่งผลต่อน้ำหนักส่วนเกิน

ปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่สาวๆ ควรบริโภค

แล้วเราควรบริโภคคาร์โบไฮเดรตเท่าไร? เราพิจารณาปริมาณคาร์โบไฮเดรตจากการวิเคราะห์น้ำหนักตัว โดยปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ควรบริโภคคือ 5-12 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ดังนั้นหากคุณมีน้ำหนัก 60 กิโลกรัม ต้องบริโภคคาร์โบไฮเดรต 300-720 กรัม โดยมีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ยืนยันว่า การบริโภคคาร์โบไฮเดรตสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการ "ออกกำลังกาย" และทำให้ร่างกายฟื้นฟูได้เร็วขึ้นถึง 2-3%

คาร์บดี VS คาร์บไม่ดี

ในการ "โหลดคาร์บ" นั้น เราต้องรู้ด้วยว่า เราควรรับประทานคาร์บแบบไหน เพราะในคาร์โบไฮเดรตนั้น มีทั้งคาร์บดี และคาร์บไม่ดี โดย "คาร์บดี" คือ อาหารจำพวกแป้ง ที่ไม่ผ่านกระบวนการขัดสี ฟอกสี หรือดัดแปลง แต่ยังคงคุณค่าและสารอาหารไว้อย่างครบถ้วน ลักษณะของอาหารที่เป็นคาร์บดี จะให้พลังงานมาก มีกากใยสูง ทำจากน้ำตาลทรายธรรมชาติ ไม่ฟอกสี และมีค่า Glycemic (GI) ค่าความเร็วของการดูดซึมน้ำตาลและแป้งเข้าสู่กระแสเลือดต่ำ ร่างกายใช้เวลาย่อยและดูดซึมช้า ทำให้รู้สึกอิ่มท้องได้นานขึ้น

"คาร์บไม่ดี" คืออะไร?

"คาร์บไม่ดี" คือ อาหารจำพวกแป้ง ที่ผ่านกระบวนการขัดสี ฟอกสี หรือดัดแปลง เพื่อให้มีรสชาติที่อร่อยขึ้น แต่คุณค่าของสารอาหารจะลดลง ลักษณะของอาหารที่เป็นคาร์บที่ไม่ดี จะมีกากใยน้อย เพราะผ่านกระบวนการต่างๆ เช่น ฟอกสี ขัดสี ปรุงแต่ง เมื่อรับประทานแล้วจะย่อยเร็ว ทำให้เกิดอาการหิวเร็ว เพราะให้พลังงานน้อย สำคัญคือเปลี่ยนไปเป็นน้ำตาลเร็ว ทำให้ร่างกายต้องผลิตอินซูลินออกมามาก ส่งผลไม่ดีต่อร่างกาย เพราะมีค่า Glycemic (GI) สูง นอกจากนี้ยังทำให้ปริมาณน้ำตาลในร่างกายสูงเกินความจำเป็น เป็นอาหารที่มีแคลอรีสูง เปลี่ยนไปเป็นไขมันง่าย ทำให้ร่างกายสะสมเป็นไขมัน จนทำให้น้ำหนักตัวเพิ่ม    

CR : thairath
#พรีมา #prima #primagroup #primacaregroup #primasukafiberplus #สารให้ความหวานแทนน้ำตาล #หญ้าหวาน #stevia #primavitallifeprobiotic #โปรไบโอติค #โพรไบโอติค #Probiotic #primacoffeemasterpiece #primacoffeevitallife #ดูแลสุขภาพ #ลดปริมาณการกิน #ลดน้ำหนัก #สุขภาพดี #กินอาหารดี

Like
ความคิดเห็น (0)
ก่อนหน้า 1 ถัดไป
ร้านค้าออนไลน์
© 2006-2024
Vevo Systems Co., Ltd.