หน้าหลัก > ข่าวและประกาศ > Low Carb Diet คืออะไร กินอะไรได้บ้าง ห้ามกินอะไรบ้าง?
Low Carb Diet คืออะไร กินอะไรได้บ้าง ห้ามกินอะไรบ้าง?
Low Carb Diet คืออะไร กินอะไรได้บ้าง ห้ามกินอะไรบ้าง?
25 Apr, 2024 / By primacaregroup
Images/Blog/XVvid1lD-S__4947972.jpg

สำหรับใครที่เป็นมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มดูแลสุขภาพได้ไม่นาน เชื่อว่าต้องเคยมีหลายคนแนะนำให้ลองควบคุมอาหารแบบ โลว์คาร์บไดเอท’ (Low Carb Diet) ที่จะโฟกัสไปที่การจำกัดปริมาณการรับประทานคาร์โบไฮเดรตเพื่อช่วยให้ร่างกายสามารถลดไขมันสะสมได้

แต่ก่อนที่จะตัดสินใจทำ Low Carb Diet ตามคำแนะนำของใคร ลองมาทำความเข้าใจกันสักหน่อยว่า Low Carb Diet คืออะไร ส่งผลกระทบต่อร่างกายอย่างไร และมีเรื่องไหนที่ต้องพิจารณาให้ดีก่อนทำ Low Carb Diet บ้าง มาไขทุกข้อสงสัยได้ในบทความนี้กัน

Table of Contents

 

เข้าใจ Low Carb Diet กันก่อน

คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate) คือ สารอาหารที่ทำหน้าที่เป็นแหล่งพลังงานให้กับร่างกายทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเซลล์ขนาดเล็กในอวัยวะต่าง ๆ ไปจนถึงเป็นแหล่งพลังงานให้กับการขยับร่างกายในชีวิตประจำวัน

จากหน้าที่ของคาร์โบไฮเดรตข้างต้น เชื่อว่าใครหลายคนคงอดสงสัยไม่ได้ว่า หากลดการรับประทานคาร์โบไฮเดรตอย่างน้ำตาล แป้ง รวมถึงเส้นใยอาหารต่าง ๆ แล้ว ร่างกายจะได้รับพลังงานที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตหรือไม่

ดังนั้น ก่อนที่จะตัดสินใจลดการทานคาร์โบไฮเดรต หรือ ทำโลว์คาร์บไดเอท (Low Card Diet) ลองมาทำความเข้าใจรายละเอียดทั้งหมดของการทำ Low Carb Diet ที่ถูกต้องในส่วนนี้กันก่อน

Low Carb Diet คืออะไร?

Low Carb Diet คือ การควบคุมอาหารที่จะมีการจำกัดปริมาณการรับประทานคาร์ไฮเดรตในแต่ละวันให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย แต่จะไม่ใช่การห้าม หรือ งดการรับประทานคาร์โบไฮเดรตเหมือนที่หลายคนเข้าใจ

ตามหลักการแล้ว เมื่อรับประทานคาร์โบไฮเดรตน้อยลง ร่างกายก็จะค่อย ๆ ลดการหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ใช้เผาผลาญคาร์โบไฮเดรตเป็นหน่วยย่อยของคาร์โบไฮเดรตอย่าง น้ำตาลกลูโคสซึ่งเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดียวที่ใช้เป็นแหล่งพลังงานให้กับเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย 

แน่นอนว่า หากเซลล์เหล่านี้ใช้น้ำตาลกลูโคสจากการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตไม่หมด ร่างกายก็จะนำน้ำตาลส่วนเกินทั้งหมดไปสะสมเป็นพลังงานสำรองในรูปแบบของ ไขมันสะสมทั่วร่างกาย ซึ่งนอกจากจะส่งผลกระทบต่อรูปร่างและน้ำหนักตัวแล้ว ไขมันส่วนเกินเหล่านี้ยังเป็นตัวเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายมากมายอีกด้วย

Low Carb Diet ทำแล้วเห็นผลลัพธ์อย่างไร?

ประโยชน์ของคาร์โบไฮเดรต คือ การเป็นแหล่งพลังงานให้กับร่างกาย แต่ถึงแม้จะรับประทานคาร์โบไฮเดรตน้อยลง แต่ร่างกายก็ยังสามารถย่อยและใช้พลังงานจากไขมันและโปรตีนที่รับประทานเข้าไปได้เช่นกัน

อย่างไรก็ดี เมื่อร่างกายได้รับพลังงานจากคาร์โบไฮเดรตน้อยลง จนทำให้ระบบฮอร์โมนอินซูลินในเลือดต่ำลง ร่างกายก็จะเริ่มเผาผลาญพลังงานสำรองเอามาใช้ หรือ เริ่มทำการเผาผลาญไขมันที่สะสมทั้งหมด 

ด้วยเหตุนี้ การทำโลว์คาร์บไดเอท (Low Carb Diet) จึงสามารถช่วยลดไขมันสะสมในร่างกายที่ส่งผลต่อรูปร่างและความมั่นใจ ทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงโรคร้ายที่มาจากไขมันส่วนเกินในร่างกายอีกด้วย

 

หลักการทำ Low Carb Diet ที่ถูกต้อง

 

เพราะผลลัพธ์ของการทำ Low Carb Diet ขึ้นอยู่กับ ความตั้งใจและ ความเข้าใจที่ถูกต้องสำหรับใครที่มีความตั้งใจสำหรับการรับประทานอาหารแบบ Low Carb Diet แล้ว ในส่วนนี้ลองมาทำความเข้าใจหลักการทำ Low Carb Diet ที่ถูกต้องกัน

1. กำหนดเป้าหมายก่อน

ก่อนที่จะมองหาอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ หรือเลือกเมนู Low Carb ขอแนะนำให้กำหนดเป้าหมายของการคุมอาหารครั้งนี้ดูก่อน 

เช่น หากต้องการลดไขมันสะสมเพื่อกระชับสัดส่วนและรูปร่าง ควรเริ่มต้นจากการกำหนดพลังงานที่ร่างกายต้องใช้ในแต่ละวัน จากนั้นค่อยคำนวณแคลอรีของสารอาหารในกลุ่มต่าง ๆ แล้วค่อยปรับลดสัดส่วนของคาร์โบไฮเดรต พร้อมเพิ่มสัดส่วนของโปรตีนและไขมัน สุดท้ายจึงเลือกการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับตัวเอง

การกำหนดเป้าหมาย ไม่เพียงแต่จะช่วยเพิ่มกำลังใจให้กับการคุมอาหารเท่านั้น แต่ยังมีส่วนช่วยให้กำหนดจุดโฟกัสการคุมอาหาร ทำให้เห็นผลลัพธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นเอง

 

 

2. กำหนดปริมาณคาร์โบไฮเดรตให้เหมาะสม

ควรรับประทานคาร์โบไฮเดรตต่อวันในปริมาณเท่าไหร่เป็นอีกหนึ่งคำถามที่คนอยากทำ Low Carb Diet สงสัยเป็นประจำ ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว การจำกัดปริมาณคาร์โบไฮเดรตจะขึ้นอยู่ความต้องการของร่างกายเป็นหลัก

บางทฤษฎีอาจกำหนดในมีการรับประทานคาร์โบไฮเดรตอยู่ที่ 50 – 150 กรัมต่อวัน ในขณะที่บางคนอาจเลือกจำกัดปริมาณคาร์โบไฮเดรตอยู่ที่ 45% – 65% ของพลังงานทั้งหมดที่ร่างกายต้องใช้ เช่น หากร่างกายต้องการพลังงานอยู่ที่ 1,500 แคลอรีต่อวัน ปริมาณคาร์โบไฮเดรตก็จะอยู่ที่ 675 – 975 แคลอรี เป็นต้น

สำหรับใครที่ยังไม่แน่ใจจะกำหนดปริมาณคาร์โบไฮเดรตในแต่ละช่วงเท่าไหร่ สำนักโภชนาการ กรมอนามัย ได้แนะนำให้จำกัดปริมาณคาร์โบไฮเดรตออกเป็น 4 ช่วง ดังนี้

  1. ระยะที่ 1 ช่วง 2 สัปดาห์แรก จำกัดการรับประทานคาร์โบไฮเดรตอยู่ที่ 20 กรัมต่อวัน โดยให้เน้นการรับประทานโปรตีนและไขมันให้มากขึ้น
  2. ระยะที่ 2 ช่วงสัปดาห์ที่ 3 ค่อย ๆ เพิ่มปริมาณคาร์โบไฮเดรตให้ได้ 30 – 35 กรัมต่อวัน
  3. ระยะที่ 3 เป็นช่วงพยายามรักษาน้ำหนักตัวให้คงที่ โดยเพิ่มการรับประทานคาร์โบไฮเดรตให้มากขึ้น 10 กรัมต่อสัปดาห์ เช่น หากรับประทานคาร์โบไฮเดรต 30 กรัมต่อวัน จะคิดเป็น 210 กรัมต่อสัปดาห์ แต่เมื่อเข้าสู่ระยะที่ 3 แล้วจะให้รับประทานเป็น 220 กรัมต่อสัปดาห์ หรือคิดเป็น 31.42 กรัมต่อวัน
  4. ระยะที่ 4 เมื่อน้ำหนักตัวคงที่แล้ว ให้รักษาปริมาณคาร์โบไฮเดรตเอาไว้เท่าเดิม จากนั้นจึงค่อยเลือกรับประทานอาหารให้หลากหลายขึ้น แต่ควรเน้นการรับประทานโปรตีนเป็นหลักและไขมันรองลงมา

สำหรับใครที่อ่านมาถึงจุดนี้แล้ว แต่ยังคงไม่มั่นใจว่าควรกำหนดปริมาณคาร์โบไฮเดรตต่อวันเท่าไหร่ ขอแนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ หรือ แพทย์ที่ดูแลสุขภาพอยู่เป็นประจำ เพื่อรับคำแนะนำที่เหมาะสมและปลอดภัยต่อสุขภาพต่อไป

3. เข้าใจว่า Low Carb Diet ห้ามกินอะไร และ กินอะไรได้บ้าง?

ผู้ที่ทำ Low Carb Diet ไม่ควรรับประทานคาร์โบไฮเดรตจากธัญพืชขัดสีอย่างข้าวขาว ขนมปังขาว หรือ พาสต้า ทั้งยังควรหลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง เช่น น้ำผลไม้ ลูกอม รวมถึงไอศกรีมและน้ำอัดลม 

นอกจากนี้ ยังไม่ควรรับประทานผักที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงอย่างข้าวโพด ฟักทอง หรือ มันฝรั่ง ทั้งยังควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่ไขมันทรานส์ รวมถึงผลิตภัณฑ์ไขมันต่ำที่มีการเติมน้ำตาล ตลอดจนอาหารแปรรูปทุกชนิด ทั้งนี้เพื่อป้องการคาร์โบไฮเดรตที่เจือปนอยู่ในอาหารโดยรู้เท่าไม่ถึงการ

ที่สำคัญ ผู้ที่ทำ Low Carb Diet ยังควรงดดื่มแอลกอฮอล์ เบเกอรี รวมถึงขนมหวานทุกชนิด เพื่อเป็นการป้องกันการรับคาร์โบไฮเดรตที่มากเกินความจำเป็นของร่างกายด้วย

 

ข้อควรระวังของ Low Carb Diet

การทำ Low Carb Diet ไม่เพียงแต่จะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเท่านั้น แต่ยังช่วยลดไขมันสะสมในร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ดี การทำ Low Carb Diet ก็มีข้อควรระวังเช่นกัน

อันดับแรก การลดปริมาณคาร์โบไฮเดรตในร่างกายอาจทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะ หรือ รู้สึกเหนื่อยล้า ใจสั่น ผมร่วง ตลอดจนมีอารมณ์ที่แปรปรวนได้ เนื่องจากร่างกายรู้สึกโหยและขาดพลังงาน ดังนั้น ผู้ที่ทำ Low Carb Diet จึงควรกำหนดปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกายเป็นหลัก

อันดับต่อมา การลดปริมาณคาร์โบไฮเดรตอาจทำให้ร่างกายขาดวิตามิน รวมถึงไฟเบอร์ที่จำเป็นต่อการขับถ่าย ทั้งยังมีความเสี่ยงที่ระดับเกลือและวิตามินในเลือดจะแปรปรวน รวมถึงเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะเลือดเป็นกรดได้ในระยะยาว ดังนั้น ผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ หรือ มีโรคประจำตัวอย่างโรคหัวใจ โรคตับ หรือ โรคไต ควรปรึกษาแพทย์และผู้เชี่ยวชาญก่อนทำ Low Carb Diet ทุกครั้ง

CR : easysunday
#พรีมา #prima #primagroup #primacaregroup #primasukafiberplus #สารให้ความหวานแทนน้ำตาล #หญ้าหวาน #stevia #primavitallifeprobiotic #โปรไบโอติค #โพรไบโอติค #Probiotic #primacoffeemasterpiece #primacoffeevitallife #ดูแลสุขภาพ #ลดปริมาณการกิน #ลดน้ำหนัก #สุขภาพดี #กินอาหารดี

Like
ความคิดเห็น (0)
ก่อนหน้า 1 ถัดไป
ร้านค้าออนไลน์
© 2006-2024
Vevo Systems Co., Ltd.