หน้าหลัก > ข่าวและประกาศ > ผู้สูงอายุกับโรคเบาหวาน ป้องกันได้ไหม ควบคุมอย่างไรดี
ผู้สูงอายุกับโรคเบาหวาน ป้องกันได้ไหม ควบคุมอย่างไรดี
ผู้สูงอายุกับโรคเบาหวาน ป้องกันได้ไหม ควบคุมอย่างไรดี
19 Apr, 2024 / By primacaregroup
Images/Blog/FoRWOrMh-messageImage_1714031903958.jpg

ผู้สูงอายุ เป็นช่วงวัยที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานสูงกว่าช่วงวัยอื่นๆ โดยเฉพาะผู้สูงวัยที่อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป เนื่องจากความเสื่อมต่างๆ ของระบบร่างกายทำให้เกิดโรคภัยต่างๆ รวมถึงโรคเบาหวาน หากไม่มีการควบคุมให้ดี ก็อาจทำให้เป็นโรคแทรกซ้อนที่อันตรายถึงชีวิตได้
ผู้สูงอายุกับโรคเบาหวาน สาเหตุมาจากอะไร
เบาหวานเป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ เนื่องจากมีการเสื่อมของตับอ่อนที่ทำหน้าที่ในการผลิตฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งใช้ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด รวมทั้งอายุที่มากขึ้น อาจทำให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน หรือทำให้ฮอร์โมนอินซูลินออกฤทธิ์ได้น้อยลง ความสำคัญของการรักษาโรคเบาหวาน คือ ถ้าควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้อาจเป็นต้นเหตุให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังต่างๆ เช่น อาการชาที่ปลายเท้า ตามองเห็นไม่ชัด โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดแดงปลายเท้าตีบ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการเกิดแผลที่เท้า ส่งผลให้ผู้ป่วยเบาหวานส่วนหนึ่งต้องสูญเสียอวัยวะ
 สิ่งที่น่ากลัวกว่าโรคเบาหวานในผู้สูงอายุ คือโรคแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้หากไม่ได้รับการควบคุมที่ดี และสามารถส่งผลถึงชีวิตได้ในอนาคต
...
อาการโรคเบาหวาน
ผู้สูงอายุหรือคนทั่วไปที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน มักจะแสดงอาการดังต่อไปนี้
1.    ดื่มน้ำบ่อย กระหายน้ำมาก
2.    ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะปริมาณมาก
3.    หิวบ่อย กินจุกว่าเดิม
4.    น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
5.    อ่อนเพลีย
6.    สายตาพร่ามัว
7.    ชาปลายมือปลายเท้า
8.    แผลหายช้า
หากมีอาการดังกล่าวข้างต้นควรเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน เพื่อรับการรักษาไปพร้อมๆ กับปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแต่เนิ่นๆ ซึ่งจะช่วยลดโอกาสเสี่ยงของอาการแทรกซ้อนระยะยาว เช่น ไตเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด ที่อาจตามมาได้
ผู้สูงอายุกับโรคเบาหวาน ป้องกันได้ไหม
ผู้สูงอายุกับโรคเบาหวานอาจป้องกันได้ยาก เนื่องจากมาจากความเสื่อมของร่างกายตามวัย อย่างไรก็ตาม ควรดูแลตัวเองให้ห่างไกลโรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อน ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
1.    ลดอาหาร หวาน-มัน-เค็ม
2.    เพิ่มสัดส่วนการรับประทานผัก ผลไม้ และธัญพืชต่างๆ
3.    ไม่สูบบุหรี่ งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
4.    นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ 7-8 ชั่วโมงต่อวัน
5.    ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาที สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง
6.    ตรวจสุขภาพประจำปี เมื่ออายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป ควรได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานทุกปี
 ควรลดการกินอาหารรสจัดอย่าง หวาน มัน เค็ม และกินผักผลไม้ให้มากขึ้น เพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวานในอนาคต
ผู้สูงอายุกับโรคเบาหวาน ควบคุมอย่างไรดี
โรคเบาหวานเป็นโรคที่เรื้อรัง เมื่อเป็นแล้วไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ถ้าสามารถควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ก็จะสามารถใช้ชีวิตเหมือนคนทั่วไปได้ โดยใช้หลักการปฏิบัติดังนี้
1. คุมอาหาร
ควรมีการควบคุมระดับไขมันและความดันเลือด หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกแป้งและไขมัน ลดน้ำตาล ของหวาน และรับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารหรือมีไฟเบอร์ เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืชต่างๆ และควรจะมีการควบคุมปริมาณของโซเดียมในอาหารด้วย เพราะจะทำให้มีปัญหาในเรื่องของไต ควรเลือกกลุ่มอาหารที่มีการปรุงรสน้อยที่สุด หรือไม่รับประทานอาหารที่มีรสเค็มจัด เพื่อถนอมการทำงานของไตไม่ให้หนักเกินไป
2. คุมระดับน้ำตาลในเลือด
โดยปฏิบัติตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด เช่น การออกกำลังกาย ควรทานยา หรือการฉีดอินซูลินอย่างสม่ำเสมอ และพบแพทย์ตามนัด อย่าหยุดยาหรือเพิ่มยาเอง ...
3. ควบคุมระดับไขมันและความดัน
การควบคุมระดับไขมัน โดยเฉพาะ LDL–C ให้ต่ำกว่า 100 mg/dL และความดันโลหิตไม่เกิน 130/80 มม.ปรอท ซึ่งจะลดภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดแดงได้
4. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ร่างกายใช้กลูโคสได้ดีขึ้น มีปฏิกิริยาต่ออินซูลินดีขึ้น เป็นการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดส่งผลให้ลดขนาดอินซูลินที่จะใช้ หรือในบางรายที่ระดับน้ำตาลไม่สูงสามารถงดการให้อิซูลินได้ และควรรักษาความสะอาดของร่างกาย อย่าสวมรองเท้าคับ ถ้ามีแผลที่เท้าต้องรีบรักษา หรือปรึกษาแพทย์โดยเร็ว
 การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอทำให้ร่างกายใช้กลูโคสได้ดีขึ้น ซึ่งมีผลต่ออินซูลินดีขึ้น เป็นการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
...
5. งดสูบบุหรี่
เพื่อช่วยลดหรือป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่หลอดเลือดแดงใหญ่ โดยเฉพาะหลอดเลือดหัวใจได้
6. พกบัตรผู้ป่วยเบาหวานติดตัวเสมอ
เพื่อแสดงว่าเป็นโรคเบาหวาน เพราะถ้าเกิดเหตุหมดสติ ผู้พบเห็นจะได้ช่วยเหลือได้ถูกต้อง และควรมีทอฟฟี่ลูกอมไว้ติดตัว เพื่อจะทานได้ทันทีที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (ซึ่งจะมีอาการใจสั่น มึนงง เวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลม เหงื่อออกมาก และรู้สึกหน้ามืด)
ถึงแม้ว่าโรคเบาหวานจะเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ผู้สูงวัยที่ป่วยเป็นโรคนี้ สามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขไม่ต่างจากคนทั่วไปได้ ด้วยการควบคุมพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของตนเองอย่างเหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนที่จะส่งผลร้ายแรงต่อชีวิตในบั้นปลายได้

CR Thairath

#พรีมา #prima #primagroup #primacaregroup #primasukafiberplus #สารให้ความหวานแทนน้ำตาล #หญ้าหวาน #stevia #primavitallifeprobiotic #โปรไบโอติค #โพรไบโอติค #probiotic #primacoffeemasterpiece #primacoffeevitallife #ผู้สูงอายุกับเบาหวาน #โรคเบาหวาน #สาเหตุเบาหวาน

 

Like
ความคิดเห็น (0)
ก่อนหน้า 1 ถัดไป
ร้านค้าออนไลน์
© 2006-2024
Vevo Systems Co., Ltd.