หน้าหลัก > ข่าวและประกาศ > น้ำตาลหญ้าหวาน คืออะไร? คนเป็นเบาหวานกินได้ไหม?
น้ำตาลหญ้าหวาน คืออะไร? คนเป็นเบาหวานกินได้ไหม?
น้ำตาลหญ้าหวาน คืออะไร? คนเป็นเบาหวานกินได้ไหม?
19 Apr, 2024 / By primacaregroup
Images/Blog/x6Du7cN2-น้ำตาลหญ้าหวานคืออะไร.jpg

น้ำตาลหญ้าหวาน คือ อะไร ?

         หญ้าหวาน คือ พืชล้มลุกชนิดหนึ่งที่มีอายุอยู่ที่ประมาณ 3 ปี โดยมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Stevia Rebaudiana (Bertoni) Bertoni และมีชื่อสามัญว่า stevia หรือ สตีเวีย โดยพืชล้มลุกดังกล่าวมีดอกสีขาวเป็นกระจุกขนาดเล็ก และลักษณะของใบเป็นรูปหอกแบบคว่ำ ส่วนของใบนี้เองที่มีความพิเศษเพราะใบของพืชล้มลุกนี้มีความหวานเหมือนความหวานที่ปรากฎในน้ำตาล และมีความหวานมากกว่าน้ำตาลถึง 15 เท่า

         โดยในใบของหญ้าชนิดนี้มีสารสำคัญที่ชื่อ สตีวิโอไซด์ หรือ Stevioside ซึ่งให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลถึง 200 เท่า จึงเป็นที่มาของน้ำตาลหญ้าหวาน โดยน้ำตาลหญ้าหวาน คือ น้ำตาลที่ให้รสชาติหวาน แต่ไม่ให้พลังงานแต่อย่างใด จึงเป็นจุดที่มีความพิเศษมหัศจรรย์ และเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์กลุ่มที่ตอบโจทย์สำหรับผู้รักและดูแลสุขภาพเป็นอย่างมาก

 

น้ำตาลหญ้าหวาน ช่วยเรื่องสุขภาพอย่างไร?

         จะเห็นได้ว่าน้ำตาลหญ้าหวาน เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาลที่มีความน่าสนใจ นอกจากเรื่องของรสชาติความหวานที่โดดเด่นเป็นอย่างมากจากพืชล้มลุกชนิดนี้แล้ว ยังมีสรรพคุณอื่น ๆ ที่น่าสนใจของหญ้าหวานในด้านของสุขภาพอีกด้วย เราไปดูกันว่า มีสรรพคุณดี ๆ ไหนที่น่าสนใจบ้างค่ะ

 

สรรพคุณของหญ้าหวาน มีดังนี้

  • ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดที่มากเกินพอดี ของร่างกายได้ ดังนั้นจึงช่วยลดโรคที่เกี่ยวเนื่องกับการที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ไม่ว่าจะเป็นโรคอ้วน หรือ โรคเบาหวาน
  • ช่วยลดอาการฟันผุได้ เพราะส่วนของหญ้าชนิดนี้ไม่เพียงแต่ถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารเท่านั้น ประโยชน์ของหญ้าหวานยังถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางทั้งการผลิตยาสีฟัน และน้ำยาบ้วนปากอีกด้วย
  • เป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการรสชาติอาหารหวาน แต่มีภาวะภูมิแพ้น้ำตาล และ Sucrose-Isomaltose Malabsorption หรือ การแพ้น้ำตาลซูโครส จึงนับเป็นอีกหนึ่งสรรพคุณ หญ้าหวานแก่ผู้ที่มีความต้องการความหวานแบบเฉพาะกลุ่ม

 

ไม่ต้องไปโรงพยาบาล ก็ตรวจวัดระดับน้ำตาลเองได้ สนใจเลือกซื้อเครื่องวัดน้ำตาล คลิกเลย!!!

  • ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งตับอ่อน เพราะในหญ้าชนิดนี้มีสารสำคัญอีกชนิดนอกจากสารที่ให้ความหวานคือ สารเคมเฟอรอล ที่มีคุณสมบัติในการป้องกันการเกิดมะเร็งตับอ่อน โดยมีงานวิจัยรองรับในระดับนานาชาติ
  • ช่วยในการต้านอนุมูลอิสระ ที่เกิดขึ้นภายในร่างกายของเราทั้งจากการดำเนินชีวิต การเผชิญหน้ากับฝุ่น ควัน และมลภาวะต่าง ๆ ในแต่ละวัน ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากในหญ้าชนิดนี้มีสารสำคัญอีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่า สารในกลุ่มฟาโวนอยที่มีส่วนช่วยในการต่อต้านอนุมูลอิสระ
  • เป็นหนึ่งในทางเลือกของผู้ที่รักสุขภาพ หรือ ผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักอย่างมีความสุข เพราะยังคงสามารถปรุงรสหวานจากน้ำตาลของหญ้านี้ได้

 

คนเป็นเบาหวานกิน น้ำตาลหญ้าหวานได้ไหม?

         ด้วยความที่หญ้าหวานเป็นหลาย ๆ คนอาจมีคำถามว่า คนเป็นเบาหวานสามารถกินน้ำตาลหญ้าหวานได้ไหม บอกเลยว่าน้ำตาลหญ้าหวานนั้นเป็นสารแทนความหวานที่ให้ความหวานจากธรรมชาติ โดยการสกัดมาจากใบของพืชหญ้าหวาน จึงทำให้มีแคลอรีต่ำ เลยเหมาะที่จะใช้กับผู้ที่ต้องควบคุมน้ำตาล

 

         ดังนั้น ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานสามารถรับประทานน้ำตาลหญ้าหวานได้ เพราะจะช่วยลดระดับพลังงานที่มากเกินพอดีจากการบริโภคน้ำตาลตามปกติ แต่ผู้ป่วยโรคเบาหวานจำเป็นที่จะต้องหมั่นตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ เพราะหากใช้ในปริมาณที่ไม่พอเหมาะ หรือใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานเกินไป จะทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานเกิดภาวะดื้ออินซูลิน แล้วส่งผลให้อาการต่าง ๆ แย่ลง โดยทำให้เกิดระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงเพิ่มมากขึ้นในระยะยาวได้

 

ใครบ้างที่ไม่ควรกินน้ำตาลหญ้าหวาน?

         ถึงแม้ว่าน้ำตาลหญ้าหวาน จะเป็นสารให้ความหวานตามธรรมชาติ รับประทานแล้วดีต่อสุขภาพก็จริง แต่ในคนบางกลุ่ม ก็มีข้อพิจารณา หรือข้อควรระวังในการบริโภค เพราะอาจจะเกิดผลเสียต่อสุขภาพแทนผลดีเหมือนกลุ่มคนอื่น ๆ ได้ ซึ่งวันนี้เราได้รวบรวมข้อควรระวังในการกินหญ้าหวานมาไว้ให้แล้ว ดังนี้ค่ะ

 

ข้อควรระวังในการกินหญ้าหวาน

  • ผู้ที่มีประวัติการแพ้พืชในตระกูลหญ้า อย่าง ดอกดาวเรือง หรือ ดอกเบญจมาศ มาก่อน ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคน้ำตาลหญ้าหวานเพราะอาจก่อให้เกิดการแพ้ได้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากพืชทั้งหมดจัดอยู่ในวงศ์เดียวกันจึงมีองค์ประกอบภายในที่คล้ายคลึงกัน และมีสารที่ก่อให้เกิดการแพ้ในกลุ่มเดียวกันนั่นเอง
  • ผู้ที่มีประวัติความดันโลหิตต่ำมาก่อนหน้า เนื่องจากการบริโภคผลิตภัณฑ์หรือน้ำตาลหญ้าหวานจะไม่ได้รับพลังงานใด ๆ เลย ดังนั้นจึงอาจทำให้ความดันโลหิตที่ต่ำอยู่แล้วต่ำลงกว่าเดิมและนำไปสู่อันตรายต่อร่างกายได้
  • ผู้ที่บริโภคแล้วเกิดอาการผิดปกติใดๆ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นอาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด หรือ ท้องเฟ้อ เป็นต้น ถ้ามีอาการเหล่านี้ แนะนำให้หยุดการกินหญ้าหวานจะดีกว่าค่ะ

CR : allwellhealthcare
#พรีมา #prima #primagroup #primacaregroup #primasukafiberplus #สารให้ความหวานแทนน้ำตาล #หญ้าหวาน #stevia #primavitallifeprobiotic #โปรไบโอติค #โพรไบโอติค #Probiotic #primacoffeemasterpiece #primacoffeevitallife #น้ำตาล #โรคเบาหวาน  #บำรุงร่างกาย #สุขภาพดี

Like
ความคิดเห็น (0)
ก่อนหน้า 1 ถัดไป
ร้านค้าออนไลน์
© 2006-2024
Vevo Systems Co., Ltd.