หน้าหลัก > ข่าวและประกาศ > คอเลสเตอรอลกับการไดเอตลดน้ำหนัก
คอเลสเตอรอลกับการไดเอตลดน้ำหนัก
คอเลสเตอรอลกับการไดเอตลดน้ำหนัก
19 Apr, 2024 / By primacaregroup
Images/Blog/5QvLJ8vo-S__5095439_0.jpg

อาหารมีผลต่อระดับคอเลสเตอรอล (Cholesterol) อย่างไร?
เมื่อคุณทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์ (trans fats)สูงมากเกินไป จะทำให้ร่างกายของคุณสร้างสารคอเลสเตอรอล(Cholesterol)จำนวนมากขึ้น เป้าหมายคือรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ (ตามที่แสดงในฉลากอาหาร)ให้มีปริมาณคอเลสเตอรอล(Cholesterol)ไม่เกิน 200 มก/วัน พยายามรับประทานทานอาหารที่มีปริมาณไขมันอิ่มตัวให้น้อยกว่า 7 %ของปริมาณแคลอรี่ของอาหารทั้งหมดที่คุณรับประทาน ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลสูง น้ำตาลไม่ได้เพิ่มระดับคอเลสเตอรอล(Cholesterol)ในร่างกาย  แต่ภาวะน้ำหนักเกินจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการมีคอเลสเตอรอล(Cholesterol)สูง


อาหารที่ช่วยลดคอเลสเตอรอล (Cholesterol)
การรับประทานอาหารต่อไปนี้จะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล(Cholesterol)ของคุณ:
•    อาหารที่มีเส้นใยสูง: อาหารที่มีเส้นใยชนิดที่ละลายน้ำได้เช่นข้าวโอ๊ต รำข้าวโอ๊ต oat bran  quinoa(ธัญพืชชนิดหนึ่ง) ถั่ว ลูกพรุน และกล้วย ซึ่งจะช่วยป้องกันการดูดซึมคอเลสเตอรอล(Cholesterol)ในระบบทางเดินอาหาร
ตามคำแนะนำของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (The Food and Drug Administration) ดังนี้
•    ผู้ชาย ควรรับประทานอาหารที่มีเส้นใย 30-38 กรัม/วัน
•    ผู้หญิงอายุ 18-50 ปีควรรับประทานอาหารที่มีเส้นใย 25 กรัม/วัน
•    ผู้หญิงอายุ 51 ปีขึ้นไปควรรับประทานอาหารที่มีเส้นใย 21 กรัม/วัน
•    ผักและผลไม้: นอกจากจะมีเส้นใยสูงแล้ว อาหารประเภทผลไม้และผักยังมี sterols  และสารที่สามารถลดระดับคอเลสเตอรอลด้วย(cholesterol-lowering compounds)
•    เนื้อสัตว์ไร้ไขมัน (Lean): เลือกเนื้อสีขาว เช่น เนื้อไก่ ไก่งวง เนื้อวัวไร้ไขมัน เนื้อหมูสันนอก (sirloin, tenderloin )
ควรแล่ส่วนไขมันหรือส่วนหนังของเนื้อสัตว์ประเภทสัตว์ปีกก่อนปรุงอาหาร  การย่าง ปิ้ง จะลดปริมาณไขมันส่วนเกิน
•    ปลาที่มีน้ำมัน: ปลาแซลมอนปลา herring และปลาเทราท์ (trout)  เป็นปลาที่มีไขมันอิ่มตัวต่ำและมีกรดไขมันโอเมก้า 3(omega-3 fatty acids) สูง การอบหรือปิ้ง ย่างปลา (แทนการทอด) จะลดไขมันที่เพิ่มขึ้น
•    ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวและเชิงซ้อน(Monounsaturated and polyunsaturated fats): ไขมันไม่ได้ไม่ดีทั้งหมดไขมันที่ดีต่อสุขภาพ เช่นไขมันจากมะกอก ถั่วลิสง ดอกคำฝอย ต้นคาโนลาและน้ำมันงา จะให้สารอาหารที่ดีสำหรับเซลล์ของคุณ และสามารถใช้ทำน้ำสลัดและปรุงอาหาร
•    ไขมันที่ดียังพบในวอลนัท (walnuts) ถั่วอัลมอนด์ เม็ดมะม่วงหิมพานต์และถั่วอื่น ๆ รวมถึง อะโวคาโด (avocadoes)
•    ไข่ขาว: การวิจัยเกี่ยวกับความเสี่ยงของการรับประทานไข่ทั้งใบสร้างความสับสนค่อนข้างมาก  หลักเกณฑ์ทั่วไปคือผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีสามารถรับประทานไข่ได้ถึงเจ็ดฟองต่อสัปดาห์อย่างปลอดภัย  ไข่แต่ละใบมีปริมาณคอเลสเตอรอล (Cholesterol) 186 มก และอยู่ในไข่แดงทั้งหมด หากคุณกังวลหรือต้องการที่จะลดปริมาณคอเลสเตอรอล (Cholesterol) อย่างมาก ควรรับประทานไข่เจียว ไข่คน และอาหารอื่นๆ ที่ทำจากไข่ขาวเท่านั้น (และไม่ใช้ไข่แดง)


ยารักษาระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย
หากการเลือกใช้วิธีปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตไม่ได้ช่วยการลดระดับโคเลสเตอรอล(Cholesterol)ของคุณ  แพทย์อาจใช้ยาเพื่อควบคุมระดับโคเลสเตอรอล(Cholesterol)ในร่างกาย


ยาที่ดี(อาจใช้ยารวมกันหลายชนิด) สำหรับควบคุมระดับโคเลสเตอรอล(Cholesterol) จะขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพโดยรวม ปัจจัยเสี่ยง และภาวะต้านทานยาของผู้ป่วย  ทั้งยังขึ้นกับปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองตีบ(stroke) แพทย์จะกำหนดเป้าหมายสำหรับระดับโคเลสเตอรอล(Cholesterol)ของผู้ป่วย แต่ละคน


ยารักษาระดับโคเลสเตอรอล(Cholesterol)ที่ใช้กันทั่วไป ได้แก่ :
Statins: 

Statins ทำงานโดยปิดกั้นสารที่ตับใช้ในการสร้างโคเลสเตอรอล(Cholesterol)ทำให้ตับต้องไปดึงโคเลสเตอรอล(Cholesterol)ออกจากเลือด statins อาจทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบโดยทำให้ร่างกายดูดซับโคเลสเตอรอล(Cholesterol)และมาสะสมไว้ตามผนังหลอดเลือดแดง


ยากลุ่ม statin ได้แก่
•    atorvastatin (lipitor)
•    rosuvastatin (Crestor)
•    fluvastatin (Lescol)
•    lovastatin (Altoprev, Mevacor)
•    pitavastatin (Livalo)
•    pravastatin (Pravachol)
•    simvastatin (Zocor)


Bile-acid-binding resins: 
คอเลสเตอรอล(Cholesterol)เป็นส่วนประกอบจำเป็นในการสร้างน้ำดี(bile acids) ซึ่งเป็นสารที่ช่วยในการย่อยอาหาร Bile-acid-binding resins จะกระตุ้นตับให้นำโคเลสเตอรอล(Cholesterol)ส่วนเกินมาใช้เพื่อสร้างกรดน้ำดีซึ่งจะช่วยลดระดับโคเลสเตอรอล(Cholesterol)ในเลือด


Bile-acid-binding resins ตัวอย่างคือ
•    cholestyramine (Prevalite)
•    colesevelam (Welchol)
•    colestipol (Colestid) ผู้ป่วยมักได้รับยาร่วมกับ statin

สารตัวยับยั้งการดูดซึมโคเลสเตอรอล(Cholesterol absorption inhibitors): 
ยาเหล่านี้จะจำกัด ปริมาณโคเลสเตอรอล(Cholesterol)ที่ถูกดูดซึมในลำไส้เล็กดังนั้นปริมาณโคเลสเตอรอลจึงไม่สามารถถูกปล่อยสู่กระแสเลือดได้ ยาเหล่านี้ได้แก่


•    ezetimibe (Zetia) สามารถใช้ร่วมกับยา statin ได้
•    ยาผสมระหว่าง absorption inhibitor และ statin จะลดการดูดซึมโคเลสเตอรอล(Cholesterol)ในลำไส้เล็กและลดการผลิตโคเลสเตอรอล(Cholesterol)โดยตับ ยาที่ใช้ร่วมกันคือ ezetimibe-simvastatin (Vytorin)


ยาลด Triglyceride
หากคุณมีระดับไตรกลีเซอไรด์สูงนอกเหนือไปจากระดับโคเลสเตอรอล(Cholesterol)ที่สูง แพทย์จะจ่ายยาเหล่านี้เพิ่ม:
Fibrates: ยาเหล่านี้ทำหน้าที่
•    ลดการผลิต lipoprotein ที่มีความหนาแน่นต่ำมาก (very-low-density lipoprotein (VLDL)) ซึ่งผลิตจากตับและเป็นส่วนประกอบสำคัญของไตรกลีเซอไรด์
•    เพิ่มการกำจัดไตรกลีเซอไรด์ออกจากเลือดของคุณ
•    ยาในกลุ่มนี้เช่น
•    Fenofibrate (TriCor)
•    gemfibrozil (Lopid)


ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม Omega-3 fatty acid: ส่วนใหญ่จะเป็นน้ำมันปลาซึ่งช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์  สามารถใช้ร่วมกับยา statin โดยมากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ (OTC) เช่นLovaza หากเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ไม่ต้องสั่งโดยแพทย์ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบเนื่องจากอาจส่งผลต่อยาอื่น ๆ ที่คุณรับประทาน


ไนอาซิน Niacin: เรียกอีกอย่างว่าวิตามิน B3 (Niaspan) ไนอาซินช่วยลดความสามารถในการผลิต LDL และ VLDL cholesterol ในตับและลดการผลิตไตรกลีเซอไรด์ ไนอาซินยังทำหน้าที่เพิ่มโคเลสเตอรอลที่ดีในเลือด (High Density Lipoprotein(HDL)) แต่ไนอาซินยังไม่ได้รับการพิสูจน์ว่าจะมีประโยชน์เพิ่มเติมจากการใช้ statin เพียงอย่างเดียว ทั้งยังถูกเชื่อมโยงกับการทำให้ตับเสียหายและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบ ดังนั้นแพทย์ส่วนใหญ่จึงแนะนำให้ใช้เฉพาะผู้ที่ไม่สามารถรับประทาน statin ได้


ผลข้างเคียงของยายารักษาระดับ Cholesterol
ผลข้างเคียงที่พบมากที่สุด ได้แก่ อาการปวดกล้ามเนื้อ และกล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดท้อง ท้องผูก คลื่นไส้และท้องเสีย เพื่อลดผลข้างเคียงและเพิ่มประสิทธิภาพในการลดระดับโคเลสเตอรอล (Cholesterol) การใช้ยาควรใช้ตามที่แพทย์สั่งเท่านั้น แจ้งให้แพทย์ทราบหากพบปัญหาข้างเคียงใดๆ แพทย์อาจเปลี่ยนปริมาณรับประทานหรือเปลี่ยนเป็นยาอื่น ๆ ได้ ควรปรึกษาแพทย์ทันทีหากมีอาการข้างเคียงรุนแรง เนื่องจากยาเหล่านี้อาจมีผลต่อตับจึงควรตรวจเช็คการทำงานของตับเป็นครั้งคราว

CR hdmall

#พรีมา #prima #primagroup #primacaregroup #primasukafiberplus #สารให้ความหวานแทนน้ำตาล #หญ้าหวาน #stevia #primavitallifeprobiotic #โปรไบโอติค #โพรไบโอติค #probiotic #primacoffeemasterpiece #primacoffeevitallife #อาหารที่ช่วยลดคอเลสเตอรอล #คอเลสเตอรอล #ไดเอต #ลดน้ำหนัก

 

Like
ความคิดเห็น (0)
ก่อนหน้า 1 ถัดไป
ร้านค้าออนไลน์
© 2006-2024
Vevo Systems Co., Ltd.